ประวัติ ร.ย.ส.ท. กีฬายานยนต์

เมื่อปี พ.ศ. 2476 ราชยานยนต์สมาคมแห่งสยามหรือ “ร.ย.ส.ส.” (The Royal Automobile Association of Siam) ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ร่วมกับเจ้านายหลายพระองค์และข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์์ ภาณุุเดช (พ.พีระ ซึ่งเป็นนักแข่งรถ) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพยอาภา กรมหมื่นนราธิป พงศ์ประพันธ์ หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ พระยานฤเบศร์ และได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อขอพระบรมราชานุญาต ซึ่งพระองค์ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ อนุญาตโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 และสมาคมเริ่มรับสมัครสมาชิกครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ชั้นบนของศาลาเฉลิมกรุงโดยมีหม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคมคนแรก
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2481

ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ FIA, ร.ย.ส.ส. จึงเป็นผู้ทรงอำนาจในการแข่งขันกีฬายานยนต์ใน ราชอาณาจักรสยาม ซึ่งหลังจากพระองค์เจ้าพีระ มีชื่อเสียงโด่งดังได้รางวัลดาราทอง (B.R.D.C. Gold Star) 3 สมัยซ้อน (1936-1937-1938) จึงเตรียมการจัดแข่งขันรางวัลใหญ่ Bangkok Grand Prix International Motor Race 1939 วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 แต่ปรากฏว่าได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงพ.ศ. 2482 - 2488 จึงไม่มีการแข่งขันดังกล่าว
“สยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย”

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทางสมาคมจึงต้องเปลี่ยนชื่อจากราชยานยนต์สมาคมแห่งสยาม (ร.ย.ส.ส.) เป็นราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ร.ย.ส.ท.) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และภายหลังสงครามโลกสงบลง แล้วการแข่งขันกีฬายานยนต์ทั่วโลกยังคงซบเซา นานหลายสิบปีต่อมา
กีฬามอเตอร์สปอร์ต

หลายประเภทเกิดขึ้นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2512 มีการแข่งขัน Asian Highway Motor Rally 1969 ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ และสมาคมแหลมทองมอเตอร์สปอร์ตคลับ โดย นายวิลาศ บุนนาค นายกสมาคม ผู้บุกเบิกจัดแข่งควอเตอร์ไมล์, สลาลอม, Hill Climb และแรลลี่ ส่วนกลุ่มโกคาร์ทนำ โดย นายวรกุล บุณยัษฐิติ ชมรมรถคาร์ทประเทศไทย (KART) ก็เริ่มต้นการแข่งขันในช่วงใกล้เคียงกัน
ในปี พ.ศ 2519 นายวิลาศ บุนนาค เป็น นายกสมาคม

ร.ย.ส.ท.ลำดับที่่ 12 ในช่วงนี้สนามเอเชียน่า เกิดขึ้นที่ พัทยา และสมาคมแรลลี่แห่งประเทศไทย โดยนายเฑียรร์ กรรณสูต นายกสมาคม จัดแข่ง ASEAN Rally 1976 มาเลเซีย-ไทย และปี 1979 ไทย-มาเลเซีย โดยผ่านการรับรองของ ร.ย.ส.ท. ในฐานะตัวแทน FIA ประจำประเทศไทย และในส่วนของการแข่งขันรถยนต์และจักรยานยนต์ทางเรียบตามสนามบินต่างๆ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2523 และจัดแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 มีการก่อตั้งสนามพัทยา เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย โดยการรับรองของ FIA เป็นสนามแข่งรถนานาชาติ เกรด 3 และในปี พ.ศ. 2531 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสนามพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ทำให้เกิดการพัฒนาครั้งใหญ่ จากรุ่นสู่รุ่นในวงการกีฬายานยนต์ของประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ร.ย.ส.ท.ในฐานะเป็นองค์กรตัวแทน FIA และ FIA/CIK ในปี พ.ศ. 2529 ได้เริ่มแต่งตั้ง คณะกรรมการกีฬายานยนต์ โดยมี ดร. ปราจิน เอี่ยมลำเนา เป็นประธานคนแรก และแต่งตั้งอนุุกรรมการคณะต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่ นายวิลาศ บุุนนาค เป็นนายกสมาคม และ นายไตรรงค์ ศรีมังกร เป็นเลขาธิการกิตติมศักดิ์์ พร้อมทั้งจัดทำกติกาแข่งขันรถยนต์แห่งชาติ NCR (National Competition Rules) ฉบับแรกโดย นายพิทักษ์ ปราดเปรื่อง เลขานุการคณะกรรมการกีฬายานยนต์
ในส่วนของทางฝุ่นมีการแข่งขัน Rallycross

เริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2531 และในปีต่อมามีการจัดแข่งขันแรลลี่ นานาชาติ โดยการรับรองของ FIA รายการ Castrol International Thailand Rally 1989 ซึ่งเป็นรากฐาน ต่อยอดให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งรอบเก็บคะแนนชิงแชมป์แรลลี่ เอเชีย-แปซิฟิก FIA APRC ตั้งแต่ปี 1992 - 2005 และการแข่งขันครอสคันทรี ระดับ Zone รายการ Asia Cross Country Rally 2001 - 2019 ถึงปัจจุบัน
สนามแข่งรถเฉพาะกิจ หาดบางแสน จังหวัดชลบุุรี

ปีพ.ศ. 2550 โดยการสนับสนุนของ นายสนธยา คุณปลื้ม เริ่มเปิดประเดิมด้วย รายการ Super Car Thailand 2007 เป็นปีแรกจนถึงปี 2012 ต่อจากนั้นปี 2013 เป็นต้นมา เป็นการแข่งขันรายการ Thailand Super Series และมีการพัฒนายกระดับสนามแห่งนี้ เป็นสนามมาตรฐาน FIA เกรด 3 ในปัจจุบัน
สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์

เป็นสนามระดับมาตรฐานโลก FIA เกรด 1 และ FIM เกรด A สร้างเสร็จเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่ง ตั้งแต่เปิดสนามแข่งรถแห่งนี้้เป็นต้นมาทำให้วงการกีฬายานยนต์ของประเทศไทย มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแข่งขัน MotoGP, WSBK และรายการแข่งรถยนต์ WTCC พร้อมทั้งรายการแข่งขันระดับนานาชาติ และระดับชาติสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกีฬายานยนต์เป็นศูนย์กลาง Destination of Speed อย่างแท้จริง
การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท. หรือ SAT)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นองค์กรของภาครัฐผู้ควบคุมกำกับดูแลการกีฬาของชาติหลายประเภท รวมถึงกีฬายานยนต์ (Motorsport) โดยราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬา เป็นสมาคมกีฬาที่่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยการแข่งขันรถยนต์อยู่ในประเภทกีฬาอาชีพ ส่วนการแข่งขันรถคาร์ทอยู่ในประเภทกีฬาสู่ความเป็นเลิศ




วิสัยทัศน์สมาคม
 

“เป็นองค์กรนำในการขับเคลื่อนกีฬาแข่งรถยนต์ประเทศไทยให้เป็นกีฬาอาชีพที่มีความเป็นเลิศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแข่งกีฬายานยนต์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”